วันแรงงาน 1 พฤษภาคม

วันแรงงานสากล เริ่มมีขึ้นเมื่อโลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ประกอบการใช้เครื่องจักรควบคู่กับแรงงานมนุษย์โดยที่ไม่ได้ระบุ สวัสดิการหรือข้อตกลงที่ชัดเจนต่อลูกจ้าง จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2432 ขบวนแรงงานในสหรัฐอเมริกาได้มีข้อเรียกร้องให้กำหนดชั่วโมงการทำงานสูงสุดวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงมีการให้ทบทวนสิทธิของแรงงานด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสม กลายเป็นการชุมนุมที่จัตุรัสเฮย์มาเก็ต การปะทะกันระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้เกิดความสูญเสียกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั่วโลกยกย่องความกล้าหาญของการต่อรองครั้งนั้น ระหว่างขบวนการแรงงานและรัฐ จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากล หรือที่เรียกว่า เมย์เดย์ (May Day) การปะทะกันระหว่างแรงงานกับรัฐเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อเจรจาต่อรองให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรม รวมถึงจัดสวัสดิการที่เหมาะสมด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของแรงงานขณะทำงาน

คำว่า “วันแรงงาน” ในประเทศไทยปรากฎขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 8 และรัฐบาลได้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติในปี พ.ศ. 2499 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานในปี พ.ศ. 2500 ในช่วงแรกของวันแรงงานนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้หยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ด้วย และใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี จึงได้มีการประกาศให้วันแรงงานแห่งชาติเป็นวันหยุดให้แรงงานได้มีช่วงเวลาเฉลิมฉลองวันแรงงานในปี พ.ศ. 2517

วันแรงงานแห่งชาติ มีไว้เพื่อคำนึงความสำคัญของแรงงานไทยในปัจจุบัน ทั้งแรงงานทั้งกลุ่มที่เป็นลูกจ้าง พนักงานต่าง ๆ เป็นกำลังในการดำเนินกิจการ และช่วยสร้างรายได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและการบริการ โดยมีข้อมูลจำนวนแรงงานในธุรกิจต่าง ๆ ดังนี้ ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจการเงิน การลงทุน และที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการผลิต เกษตรกรรม ประมง ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการก่อสร้าง บริการอื่น ๆ เพราะฉะนั้นหากหน่วยงานที่มีแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ก็มักจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้ดีด้วย ปัจจุบันหน่วยงานที่รับหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบแรงงานไทย นั่นคือ กระทรวงแรงงาน โดยแบ่งออกเป็น กรมจัดหางาน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม